วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอน

อาหารพื้นบ้านที่ถูกลืมสรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ / Unit Summaryนักเรียนทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาอาหารที่มีในท้องถิ่น โดยศึกษาเรื่องสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาปรับใช้ วิเคราะห์สารอาหารที่มีอยู่ในอาหารที่นิยมหรือเคยนิยมรับประทานในท้องถิ่น นำมาพัฒนาให้มีรูปแบบที่น่าสนใจและสามารถจำหน่ายในท้องตลาดได้ จากนั้นนำมาจัดทำเป็นชิ้นงานนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย ทำแผ่นพับและสร้างเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ
คำถามเพื่อกำหนดกรอบการเรียนรู้ / Curriculum-Framing Questions
Essential Question: คำถามสร้างพลังคิดทำอย่างไรจึงจะคงอยู่ตลอดไป
Unit Questions: คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้จะพื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สูญหายได้อย่างไรอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับวิถีชุมชนอย่างไร
Content Questions: คำถามประจำบทเรียนอาหารท้องถิ่นชดเชยสารอาหารที่ขาดไปได้อย่างไรหลักในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพควรเป็นอย่างไรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้อยู่คงทนถาวรมีวิธีอะไรบ้าง
ขั้นตอนการสอน / Instructional Procedures ขั้นเตรียมการสอนครูสำรวจสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เว็บไซต์ และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประจำของแต่ละท้องถิ่น แล้วทำรายการเตรียมไว้แนะนำให้นักเรียน
ขั้นตอนการสอน
นำเข้าสู่บทเรียนด้วยคำถามสร้างพลังคิด ทำอย่างไรจึงจะคงอยู่ตลอดไป เพื่อให้นักเรียนระดมสมองว่า การจะรักษาสิ่งที่ดีงาม และมีคุณค่าเป็นประโยชน์ให้อยู่ตลอดไปควรจะทำอย่างไร จากนั้นบันทึกคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อเปรียบเทียบเมื่อสิ้นสุดหน่วยการเรียนรู้นี้
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่นิยมหรือเคยนิยมในท้องถิ่น พร้อมทั้งวิเคราะห์สารอาหารที่มีในอาหารชนิดนั้น บันทึกข้อมูลที่ได้ลงในใบงานเรื่องอาหารท้องถิ่น (DOC 25.0KB)
ตั้งคำถามต่าง ๆ เพื่อเปิดอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนว่า อาหารท้องถิ่นชนิดใดที่ยังหาได้ในตลาด และชนิดใดที่นักเรียนไม่เคยเห็น ทำไมอาหารท้องถิ่นแต่ละชนิดได้รับความนิยมแตกต่างกัน จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า จะพื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สูญหายได้อย่างไร
มอบหมายให้นักเรียนสืบค้นว่า อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับวิถีชุมชนอย่างไร ตั้งคำถามให้นักเรียนอภิปรายว่า กาลเวลาที่เปลี่ยนไปมีผลต่อวิถีชุมชนหรืออาหารท้องถิ่นหรือไม่ อย่างไร
ให้สืบค้นวิธีการปรุงอาหารชนิดนั้น ๆ จากอาจารย์คหกรรม แล้วนำมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของโครงงานที่จะนำเสนอต่อไป
แจกขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงงาน (DOC 31.0KB) ให้แต่ละกลุ่ม และอภิปรายร่วมกับนักเรียนว่า จะกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงงานนำเสนอ (DOC 51.5KB) ในประเด็นอะไรบ้าง จากนั้นให้เวลาแต่ละกลุ่มสืบค้น รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำโครงงาน
นำประเด็นต่าง ๆ มาวางแผนจัดทำโครงงานนำเสนอ โดยช่วยกันระดมสมองว่า จะนำเสนอวิธีการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นให้คงอยู่ในแนวคิดที่แหวกแนวจากเดิมได้อย่างไร จากนั้น
แต่ละกลุ่มวางแผนจัดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาปรับปรุง สีสัน รูปแบบ และส่วนประกอบของอาหารท้องถิ่นโดยระบุว่าสารอาหารที่มีอยู่นั้นเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และนำเสนอผลงานในรูปของ Microsoft Office PowerPoint* ,แผ่นพับ หรือเว็บไซต์ พร้อมทั้งคิดชื่อโครงงาน (PPT 215KB) ให้สอดคล้องด้วย
ส่งจดหมายเชิญพ่อแม่ผู้ปกครองร่วมฟังการนำเสนอชิ้นงานของนักเรียน พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง, ครูและเพื่อน ๆ กลุ่มอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ทักษะพื้นฐานเดิมของนักเรียน / Prerequisite Skills
ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการนำเสนอ
ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารและคุณค่าของสารอาหาร
การดัดแปลงตามสภาพการสอนที่แตกต่างกัน / Differentiated Instructionนักเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ :
ให้นักเรียนที่มีทักษะคอมพิวเตอร์น้อยใช้เครื่องนอกเวลาได้
จัดทำใบงานใบความรู้พิเศษเพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบกระบวนการการทำงานของตนเอง
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ :
ให้ผู้มีความสามารถพิเศษทางคอมพิวเตอร์เป็นผู้ช่วยครูในการสอน
เป็นที่ปรึกษานอกเวลาหรือรับแนะนำระหว่างวันหยุด
เป็นหัวหน้าตามกลุ่มที่ยังขาดผู้เชี่ยวชาญ
การประเมินนักเรียน / Assessment Processes
การทำงานเป็นกลุ่ม
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แบบประเมินรูบริก (DOC 51.5KB)
ผู้เขียนหน่วยการเรียนรู้ / Credits
อาจารย์นิพา เตยะธิติ
โรงเรียนลับแลพิทยาคม
อุตรดิตถ์